ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต
1. อินเตอร์เน็ตคืออะไร
อินเตอร์เน็ต เป็นระบบเครือข่าย
ที่เชื่อมโยงเครือข่ายมากมายทั่วโลกเข้าด้วยกัน
อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลในทุก ๆ
ด้านให้ผู้ที่สนใจเข้าไปศึกษาค้นคว้า ได้สะดวก รวดเร็วและ ง่ายดาย
TCP/IP : ภาษาสื่อสารการที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงไว้ในระบบ
จะสามารติดต่อกันได้นั้น ต้องมีภาษาสื่อสาร ที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) เช่นเดียวกับคนที่ต้องมีภาษาพูดเพื่อให้สื่อสารเข้าใจกันได้
ภาษาสื่อสารในคอมพิวเตอร์มีอยู่มากมายแตกต่างกันตามระบบที่ใช้
ซึ่งคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่ในระบบต้องใช้ภาษาสื่อสารเดียวกัน
อ้างอิง http://www.school.net.th/library/create-web/10000/technology/10000-5902.html
2. วิวัฒนาการของอินเตอร์เน็ต
ในสมัยแรก ๆ อินเตอร์เน็ตได้ถูกใช้ในหมู่นักวิจัยเท่านั้น
การใช้งานค่อนข้างยาก ต้องพิมพ์คำสั่งยาว ๆ ไม่มีรูปภาพสวยงามเหมือนในปัจจุบัน
บริการที่นิยมใช้กันในสมัยนั้นได้แก่ จดหมายอิเล็กทรอนิคส์ (Email) แหล่งพูดคุย (IRC
, USENET) การเข้าใช้เครื่องที่อยู่ระยะไกล (Telnet) การใช้งานฐานข้อมูลระยะไกล (WAIS
, Archie) และ Veronica และใช้ในการส่งไฟล์ระหว่างหน่วยงานรัฐ บริษัท
และมหาวิทยาลัย (FTP และ Gopher)อินเตอร์เน็ตยุคใหม่ ที่มีรูปภาพสวยงามและใช้งานง่าย
เพิ่งกำเนิดขึ้นมาในปี 2534 นี้เอง บริการแรกที่ถูกเปลี่ยนมาใช้ในแบบนี้ คือ WWW
(World Wide Web) ซึ่งได้กลายมาเป็นบริการหลักของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน
ระบบอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย
โครงสร้างของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (พ.ย. 2545) ปัจจุบันประกอบด้วย ISP 18 ราย
และผู้ให้บริการแบบไม่หวังผลกำไรอีก 4 ราย
แต่มีรูปแบบช่องรับ/ส่งสัญญาณที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ ISP ทุกราย
(ทั้งเชิงพาณิชย์และไม่หวังผลกำไร)
จะต้องเช่าช่องสัญญาณจากจากผู้ให้บริการวงจรสื่อสารอีกต่อหนึ่ง โดยแบ่งเป็นช่องสัญญาณการเชื่อมต่อภายในประเทศ - ISP สามารถเลือกเช่าช่องสัญญาณได้โดยเสรี
ทั้งจาก ทศท., กสท., TelecomAsia, DataNet โดยวงจรของทุกราย
จะเชื่อมต่อกับจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ
เพื่อความรวดเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูล นั่นคือ
การติดต่อสื่อสารระหว่างคู่สื่อสารในประเทศไทย สามารถทำได้สะดวก
ไม่ว่าคู่สื่อสารนั้น จะใช้บริการของ ISP รายใดก็ตาม
ทั้งนี้จุดแลกเปลี่ยนในปัจจุบันได้แก่ IIR (Internet
Information Research) ของเนคเทคและ NIX (National Internet Exchange) ของ กสท.
ช่องสัญญาณการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ - ISP จะต้องผ่าน
กสท. เท่านั้น เนื่องจากกฎหมายปัจจุบันยังไม่ให้อนุญาตให้ทำการส่งข้อมูลเข้า-ออกของไทย
โดยปราศจากการควบคุมของ กสท. โดย ISP จะเชื่อมสัญญาณเข้ากับ IIG(International
Internet Gateway)
อ้างอิง http://www.nr.ac.th/learning/internetforweb/Learning13.html
3. ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลาย ๆ ด้าน
ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่น ๆ ดังนี้
ด้านการศึกษา
- สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ
ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่า สนใจ
- ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
- นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ
เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง
ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น
ด้านธุรกิจและการพาณิชย์
- ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
- สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
- ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ
และสนับสนุนลูกค้าของตน
- ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ
ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ ( Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟร
ี ( Freeware) เป็นต้น
ด้านการบันเทิง
- การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ
ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ
โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป
- สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
- สามารถดึงข้อมูล ( Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่
และเก่า มาดูได้
จากเหตุผลดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ต
มีความสำคัญ ในรูปแบบ ดังนี้
การติดต่อสื่อสารที่สะดวก และรวดเร็ว
แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก
โดยสรุปอินเทอร์เน็ต
ได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานไอที
ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจ
และบริหารงานทั้งระดับบุคคลและองค์กร
อ้างอิง http://www.kkn.ac.th/webkns/kesorn/internet.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น